วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2555

ความหมายและคุณค่าของสังฆะ

๒. ๑ ความหมายและคุณค่าของสังฆะ
ความหมายของสังฆะ

คำว่า “สังฆะ” ก็คือ สงฆ์ แปลว่า หมู่ หรือชุมชน ดังนั้น คำว่า “พระสงฆ์” คือชุมชนอันประเสริฐ ซึ่งเกิดจากท่านผู้รู้ผู้ดำเนินตาม
อย่างพระพุทธเจ้า มาอยู่ร่วมกัน เป็นแหล่งที่ดำรงรักษาธรรม และเป็นแหล่งแห่งกัลยาณมิตร ที่จะช่วยเกื้อหนุนให้ผู้ศึกษาเจริญงอกงามขึ้นไปในชีวิตอันประเสริฐ จนสามารถเข้าถึงธรรม ตามอย่างพระพุทธเจ้า

พระสงฆ์แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ

1.พระอริยสงฆ์คือภิกษุผู้รู้แจ้งธรรมผู้ปฏิบัติตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้บรรลุถึงความรู้แจ้งสามารถกำจัดกิเลสตัณหาอุปาทานได้ตามภูมิชั้นของตน ได้แก่ พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ ตามลำดับ

2.สมมุติสงฆ์คือพระภิกษุผู้ได้รับการอุปสมบทถูกต้องตามธรรมวินัยแล้วอุทิศตนเพื่อการศึกษาและปฏิบัติตามพระธรรมวินัยตามความสามารถของตน แต่ยังไม่บรรลุมรรคผล

ในการประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ ทางพระพุทธศาสนาพระสงฆ์สามารถประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ ได้โดยแบ่งพระสงฆ์ออกเป็น 4 หมวดคือ

1. สงฆ์จตุวรรค คือ หมู่ภิกษุตั้งแต่ 4 รูป สามารถประกอบพิธีกรรมได้ทุกอย่าง ยกเว้น การปวารณา การทอดกฐิน การอุปสมบทและอัพภาน (พิธีกรรมของสงฆ์ที่ผิดอาบัติ)

2. สงฆ์ปัญจวรรค คือ หมู่ภิกษุตั้งแต่ 5 รูปขึ้นไป สามารถทำปวารณา ให้ผ้ากฐิน และให้การอุปสมบทในปัจจันตชนบทได้ (สถานที่ขาดแคลนพระสงฆ์ เช่น ในเขตชนบท)

3. สงฆ์ทสวรรค คือ หมู่ภิกษุตั้งแต่ 10 รูปขึ้นไป สามารถให้การอุปสมบทในมัธยมประเทศ (สถานที่ที่ไม่ขาดแคลนพระสงฆ์ เช่นในเขตเมือง) ได้

4. สงฆ์วีสติวรรค คือ หมู่ภิกษุจำนวน 20 รูปขึ้นไป สามารถทำอัพภานได้

คุณค่าของพระสงฆ์
คุณค่าของพระสงฆ์ เรียกว่าสังฆคุณ หมายถึง พระคุณของพระสงฆ์ เป็นการระลึกถึงคุณงามความดีของพระสงฆ์ 9 ประการ
แบ่งออกเป็น ความดีของพระสงฆ์ที่เป็นเหตุ 4 ประการ และความดีของพระสงฆ์ที่เป็นผล 5 ประการ ดังนี้คือ

ความดีของพระสงฆ์ที่เป็นเหตุ


คุณงามความดีของพระสงฆ์ที่เป็นคุณสมบัติเฉพาะตน หรือความดีที่เป็นเหตุให้คนอื่นมองเห็นและยกย่องนับถือ เลื่อมใสเคารพ บูชา มี 4 ประการ คือ

1. สุปฏิปนฺโน หมายถึง เป็นผู้ปฏิบัติดี คือ พระสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติตามแนวทางแห่งอริยมรรคมีองค์ 8ปฏิบัติตามหลักธรรมและวินัย

2. อุชุปฏิปนฺโน หมายถึง เป็นผู้ปฏิบัติตรง คือ พระสงฆ์เป็นผู้ไม่ปฏิบัติหลอกลวง เจ้าเล่ห์ ไม่คดโกง ไม่พูดเท็จ เป็นคนตรงปากกับใจตรงกัน

3. ญายปฏิปนฺโน หมายถึง เป็นผู้ปฏิบัติเป็นธรรม คือ พระสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติที่มุ่งธรรมหรือปฏิบัติถูกทางเพื่อให้เกิดความรู้เห็นสภาวะทั้งหลายตามเป็นจริง (รู้แจ้งในธรรม)

4. สามีจิปฏิปนฺโน หมายถึง เป็นผู้ปฏิบัติสมควร คือ พระสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติน่ายกย่องนับถือ สมควรได้รับความเคารพกราบไหว้ เพราะดีพร้อมทุกอย่าง บริสุทธิ์ตามพระธรรมวินัยท่านทำความดีโดยไม่หวังผลประโยชน์ตอบแทนใด ๆ ทั้งสิ้น

ความดีของพระสงฆ์ที่เป็นผล

คุณงามความดีของพระสงฆ์ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลอื่นหรือความดีที่เป็นผลให้คนอื่นมองเห็นแล้วปฏิบัติต่อท่านอย่างเหมาะสม ให้ความเคารพกราบไหว้ ให้ความอนุเคราะห์และอุปถัมภ์ท่านในเรื่องการบำรุงด้วยปัจจัย 4 และในเรื่องต่าง ๆ แก่ท่าน มี 5ประการคือ

1. อาหุเนยฺโย หมายถึง พระสงฆ์เป็นผู้ควรแก่การสักการะบูชา
2. ปาหุเนยฺโย หมายถึง พระสงฆ์เป็นผู้ควรแก่การต้อนรับ
3. ทกฺขิเณยฺโย หมายถึง พระสงฆ์เป็นผู้ควรรับของที่เขานำมาทำบุญ
4. อญฺชลีกรณีโย หมายถึง พระสงฆ์เป็นผู้ควรแก่การกราบไหว้
5. อนุตฺตรํ ปุญฺญกฺเขตฺตํ โอกสฺส หมายถึงพระสงฆ์เป็นเนื้อนาบุญของชาวโลกคือเป็นแหล่งเผยแพร่ความดีที่ยอดเยี่ยมของโลก

พระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนนั้น เป็นหลักให้แก่การดำเนินชีวิตของเรา เมื่อเราปฏิบัติถูกต้องตามธรรมนั้นศักยภาพแห่งความเป็นมนุษย์ของเราก็จะเจริญปรากฏออกมาจนกระทั่งเข้าถึงความจริงของธรรมชาติมีชีวิตที่ดีงามมีความสุขอย่างแท้จริง แต่การที่จะเข้าถึงพระธรรมได้นั้น จะต้องอาศัยพระสงฆ์ ซึ่งถือว่าเป็นชุมชนที่ดีงาม มีปัญญา มีคุณธรรม และถือว่าเป็นผู้ที่พัฒนาตนเองให้บริสุทธิ์สมบูรณ์แล้ว คอยเกื้อหนุนให้เพื่อนมนุษย์โดยการอบรมสั่งสอนตามหลักธรรมพระพุทธศาสนา ทั้งในด้านปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธ

ด้วยเหตุนี้ พระพุทธเจ้าจึงทรงตั้ง สังฆะ ขึ้นให้เป็นชุมชนอันประเสริฐ ซึ่งบุคคลผู้ตั้งอยู่ในธรรม จะมาประกอบเข้าเป็นชุมชนนั้นชุมชนที่เรียกว่าสังฆะนี้ ก็จะเป็นแหล่งที่ช่วยดำรงรักษาธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนนั้นไว้ และเป็นที่เจริญงอกงามแห่งคุณความดีทั้งหลาย เป็นแหล่งซึ่งมีกัลยาณมิตร ที่จะช่วยเกื้อหนุนให้ผู้ที่เข้ามาสามารถเจริญงอกงามไปในธรรม จนกระทั่งเข้าถึงธรรมนั้นโดยสมบูรณ์ชุมชนนี้คือ สังฆะ ซึ่งเป็นรัตนตรัยที่ 3 ในพระรัตนตรัย

๒. ๒ อริยสัจ 4 : ทุกข์ : ขันธ์ 5 : จิต, เจตสิก
จิต (Consciousness)

จิต มีลักษณะเป็นนามธรรม ที่เกิด-ดับ ตลอดเวลา ทำหน้าที่รับรู้ รู้สึก คิด จำ เป็นต้น เป็นฐานของชีวิต การรู้สึกตัว การรับรู้การ
สัมผัสและการนึกคิดต่าง ๆ แต่ไม่มีลักษณะเป็นตัวตน

ลักษณะของจิต


ลักษณะของจิต ประมวลได้ดังนี้
1. ไม่มีรูปร่าง
2. ไม่กินเนื้อที่
3. หมุนไปเร็ว
4. ไปได้ไกล
5. บริสุทธิ์ ผ่องใส
6. มีปกติรับรู้อารมณ์อยู่เสมอ
7. เป็นผู้สั่งสมวิบาก (ผล) ของกรรม
8. รักษาขันธสันดานให้เกิดขึ้นโดยติดต่อสืบและไม่ขาดสาย (ภวังคจิต)
9. ทำให้สิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตวิจิตรพิศดาร
ประเภทของจิตในทางพระอภิธรรม

จิตนี้เมื่อกล่าวตามสภาวลักษณะแล้ว ก็มีเพียง 1 เท่านั้น คือ เป็นธรรมชาติที่รู้อารมณ์ แต่เมื่อจำแนกออกเป็นประเภทต่าง ๆ ตาม
ลักษณะของตนแล้ว จิตอย่างย่อมี 89 ดวง อย่างพิศดารมี 121 ดวง
จิตทั้ง 89 ดวงหรือ 121 ดวงนั้น จำแนกเป็นนัยต่าง ๆ ได้ 6 นัย เท่าที่จำเป็นควรจะทราบในที่นี้คือ

1. ชาติเภทนัย คือ การแยกประเภทของจิต ออกเป็นชาติสกุล คือ จิตนี้เมื่อจำแนกโดยชาติสกุลแล้ว ก็มี 4 ชาติคือ
1) กุศลชาติ จิตฝ่ายกุศล2) อกุศลชาติ จิตฝ่ายอกุศล3) วิบากชาติ จิตที่เป็นวิบาก4) กริยาชาติ จิตที่เป็นกิริยา

2. ภูมิเภทนัย คือ การแยกประเภทของจิตโดยภูมิ จิตที่แยกโดยภูมินี้มี 4 ภูมิ คือ
1) กามภูมิ หรือ กามาวจรภูมิ ระดับจิตที่ท่องเที่ยวอยู่ในกามภพ2) รูปภูมิ หรือ รูปาวจรภูมิ ระดับจิตที่ท่องเที่ยวอยู่ในรูปภพ หรือระดับจิตของผู้ได้รูปฌาน3) อรูปภูมิ หรือ อรูปาวจรภูมิ ระดับจิตที่ท่องเที่ยวอยู่ในอรูปภพ หรือระดับจิตของผู้ได้รูปอฌาน4) โลกุตตรภูมิ ระดับจิตของพระอริยเจ้า ผู้พ้นจากโลกียภูมิ 3 ข้างต้น

3. โสภณเภทนัย คือ การแยกจิตเป็นประเภทโสภณ และอโสภณ มี 2 อย่างคือ
1) โสภณจิต จิตที่ดีงาม2) อโสภณจิต จิตที่นอกจากโสภณจิต4. โลกเภทนัย คือ การแยกจิตเป็นประเภทของจิตที่เป็นอยู่ในโลกทั้ง 3 และที่พ้นจากโลก มี 2 ประเภทคือ1) โลกิยจิต คือ จิตที่เป็นไปในโลกทั้ง 3 คือ กามโลก รูปโลก และอรูปโลก2) โลกุตตรจิต คือ จิตที่พ้นจากความเป็นไปในโลกทั้ง 3 หรือ จิตเหนือโลก

5. เหตุเภทนัย คือ การแยกประเภทของจิตที่ประกอบด้วยเหตุ และไม่ประกอบด้วยเหตุ มี 2 ประเภท
1) สเหตุกจิต จิตที่ประกอบด้วยเหตุ คือ โลภะ โทสะ โมหะ อโลภะ อโทสะ และอโมหะ2) อเหตุกจิต จิตที่ไม่ประกอบด้วยเหตุ คือ ไม่ประกอบด้วยโลภะ โทสะ โมหะ อโลภะ อโทสะ และอโมหะ

6. เวทนาเภทนัย คือ การแยกจิตออก โดยการเสวยอารมณ์ตามเวทนาทั้ง 5 มี 5 ประเภทคือ
1) สุขเวทนา การเสวยความสุขทางกาย2) ทุกขเวทนา การเสวยความทุกข์ทางกาย3) โสมนัสเวทนา การเสวยความสุขทางใจ4) โทมนัสเวทนา การเสวยความทุกข์ทางใจ5) อุเบกขาเวทนา การเสวยอารมณ์ที่เป็นกลาง ๆ ไม่สุขไม่ทุกข์
การเกิดดับของจิต
จิตตามทัศนะของพุทธปรัชญา จิตเป็นสิ่งที่เกิดอยู่ตลอดเวลา หรือเกิดดับอยู่ทุกขณะ จิตจะเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป แล้วเกิดขึ้นใหม่
เป็นวัฏจักรอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ การเกิดดับของจิตมีขณะย่อย 3 ขณะคือ ขณะที่เกิดขึ้นเรียกว่า “อุปาทขณะ” ขณะที่ตั้งอยู่เรียกว่า “ฐิติขณะ” และขณะที่ดับไปเรียกว่า“ภวังคขณะ” ดังรูปข้างล่าง

รูปข้างบนนี้แสงการเกิดดับของจิต เส้นโค้งที่เริ่มขึ้นจากเส้นระดับ แล้วจบลงที่เส้นระดับนั้นแสดงการเกิดขึ้นของจิตดวงหนั่งซึ่งเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ขณะจิตหนึ่ง ใน 1 ขณะจิตนี้มีขณะย่อย3 ขณะ คือ อุปาทขณะ ฐิติขณะ และภังคขณะ เมื่อจิตดวงหนึ่งเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปแล้วจิตดวงใหม่ก็เกิดขึ้นในทำนองเดียวกัน จิตจะทยอยเกิดดับสืบต่อกันอย่างนี้เรื่อยไปทั้งในเวลาหลับและขณะตื่น ต่างกันแต่เพียงว่า จิตที่เกิดดับอยู่ในขณะที่คนนอนหลับสนิทนั้น เกิดดับอยู่ใน “ภวังค์” ตลอดเวลา

เจตสิก
เจตสิก คือ ธรรมที่ประกอบกับจิต, อาการของจิต หรือ คุณสมบัติต่าง ๆ ของจิต เช่น ความโลภ ความโกรธ ความหลง ความ
ศรัทธา เมตตา สติ ปัญญา เป็นต้น มี 52 อย่าง

ความสัมพันธ์ระหว่างจิตกับเจตสิก
โดยสภาพธรรมชาติของตนแท้ ๆ จิตมี 1 คือ สภาวธรรมอย่างหนึ่งที่มีการเกิดดับอยู่ทุกขณะ นั่นคือมีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป แล้วมีการเกิดขึ้นใหม่ ตั้งอยู่ ดับไปตามอำนาจของเหตุปัจจัยอยู่ตลอดเวลา ถ้าจะอุปมาเปรียบเทียบจิตก็เปรียบเหมือนน้ำบริสุทธิ์ที่ยังไม่มีสิ่งเจือปนอื่น ๆ เข้าไปผสมน้ำในสภาพเช่นนี้เรามีชื่อเรียกอย่างเดียวคือ น้ำ ยังไม่มีชื่อพิเศษอื่น ๆ ต่อเมื่อมีสารอื่นเช่นสีเข้าไปผสม สภาพน้ำบริสุทธิ์ก็เปลี่ยนไป สีแดง สีน้ำเงิน เป็นน้ำส้ม น้ำเชื่อม น้ำหมึก น้ำปลา น้ำเมาและมีชื่อเรียกตามลักษณะของสิ่งที่เข้าไปผสมบ้าง สมมุติเรียกเป็นชื่อเฉพาะพิเศษออกไปบ้าง
จิตก็คล้ายกับน้ำ คือ เมื่อยังไม่มีอะไรเข้าไปผสมหรือประกอบก็ยังไม่มีการจำแนกประเภทต่อเมื่อมีสิ่งเข้าไปประกอบจึงจำแนกออกเป็นประเภทต่าง ๆ มากมาย ตามลักษณะของสิ่งที่เข้าไปประกอบนั้น ๆ สิ่งที่เข้าไปประกอบจิตเรียกว่า “เจตสิก” คือ ธรรมชาติที่เกิดพร้อมกับจิต ดับพร้อมกับจิต มีอารมณ์เดียวกับจิต และอาศัยวัตถุอันเดียวกับจิต
ที่ว่าเจตสิกมีลักษณะเกิดดับพร้อมกับจิต หมายความว่า เมื่อจิตเกิดขึ้นสภาพที่เรียกว่าเจตสิกซึ่งมีธรรมชาติประกอบจิตก็เกิดขึ้น
พร้อมกัน เมื่อจิตดับเจตสิกก็ดับ เช่น เมื่อจิตเกิดโลภะ ก็มีอาการของจิต (เจตสิก)เกิดขึ้นนั่นคือเกิดความโลภ (เมื่อโลภะดับก็ไม่มีความโลภ) เป็นต้น
ที่ว่าเจตสิกมีอารมณ์เป็นอันเดียวกับจิต หมายความว่า จิตมีสิ่งใดเป็นอารมณ์ (เช่น รูป เสียง กลิ่น รส)เจตสิกก็มีสิ่งนั้นเป็นอารมณ์
ที่ว่าเจตสิกอาศัยอันเดียวกับจิต หมายความว่า จิตเกิดขึ้นรับอารมณ์ทางไหน เช่น ทางตา ทางหู เป็นต้นเจตสิกก็อาศัยตาหรือหูเกิดขึ้นเป็นไปเช่นเดียวกับจิต

๒. ๓ อริยสัจ 4 : นิโรธ : ธรรมนิยาม : ปฏิจจสมุปปบาท
ธรรมนิยาม (the geniral laws fo cause and effect)
ธรรมนิยามเป็นกฎธรรมชาติเกี่ยวกับความสัมพันธ์หรืออาการที่เป็นเหตุเป็นผลแก่กันของสิ่งทั้งหลายหรือกฎทั่วไปแห่งเหตุและผลเช่นสิ่งทั้งหลายมีความเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป เป็นธรรมดา คนย่อมมีความเกิด แก่ เจ็บตาย เป็นธรรมดาธรรมนิยามเป็นคำสรุปรวมเอานิยามทุกข้อทั้งหมดเข้าไว้ด้วยกัน และอุตุนิยาม ธรรมนิยาม จิตตนิยามและกรรมนิยาม ก็รวมอยู่ในธรรมนิยามนี้เช่นกัน
กฎธรรมชาติ เป็นสิ่งที่เป็นไปเองธรรมดาธรรมชาติ โดยไม่มีใครมาสร้างหรือดลบันดาลให้เป็นอย่างนั้น เป็นอย่างนี้และจะต้องมีความสัมพันธ์กัน เช่น ดิน ผสมกับน้ำ ก็กลายมาเป็นโคลนตม เป็นต้นลักษณะของกฎธรรมชาตินี้ต้องอาศัยเหตุปัจจัยที่อาศัยซึ่งกันและกัน ที่เรียกว่า “ปฏิจจสมุปปบาท” (ปะ-ติด-จะ-สะมุบ-ปะ-บาด)

ปฏิจจสมุปปบาท
คำว่า “ปฏิจจสมุปบาท” ประกอบขึ้นด้วยคำ 3 คำ คือ ปฏิจฺจ แปลว่า อาศัยกัน สํ แปลว่า พร้อม และอุปฺปาท แปลว่า เกิดขึ้นเมื่อนำคำทั้ง 3 มารวมกันเป็น “ปฏิจจสมุปปบาท” แปลตามรูปศัพท์ว่า สิ่งที่อาศัยซึ่งกันและกันแล้วเกิดขึ้นพร้อมภาวะที่มีอันนี้ ๆ เป็นปัจจัย หมายถึง การเกิดขึ้นของสิ่งใดสิ่งหนึ่งนั้น ย่อมมีปัจจัยต่าง ๆ ช่วยหนุนในลักษณะที่เป็นเหตุเป็นผลต่อเนื่องกันไป ปัจจัยที่เป็นองค์ประกอบนั้น ในตัวของมันแล้วมิใช่เป็นเหตุหรือเป็นตัวผลอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น มันจะเป็นทั้งตัวเหตุและตัวผล ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขว่ามันจะเป็นตัวเหตุเมื่อใด หรือจะเป็นตัวผลเมื่อใด ดังนั้น ปัจจัยแต่ละตัวก็มีลักษณะเช่นนี้ทำการสนับสนุนเกื้อกูล และต่อเนื่องเชื่อมโยงกันไปเป็นวงจร เมื่อสิ่งใดที่เราเรียกว่า “เกิด”ก็หมายถึง การประชุมพร้อมกันของปัจจัยต่าง ๆ ในทางตรงกันข้าม เมื่อสิ่งใดที่เราเรียกว่า “ดับ” หรือ“สลาย”ก็หมายถึง การแยกจากกันของปัจจัยต่าง ๆ ซึ่งปัจจัยเหตุนี้มันจะกลับคือสู่สภาวะเดิมของมันวงจรก็จะถูกตัดช่วงไป ตัวอย่างเช่น การปลูกต้นไม้ (เกิด)มีการประชุมพร้อมกันเหตุปัจจัยต่าง ๆ เพื่อให้ต้นไม้เจริญเติบโต เหตุปัจจัยเหล่านั้นได้แก่ ดิน น้ำ อากาศ แสงแดด ปุ๋ยการบำรุงรักษา เป็นต้น หากขาดปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งต้นไม้ก็ตาม (ดับ) ดังนั้นเหตุปัจจัยเหล่านี้จึงมีความสัมพันธ์กันเกี่ยวพันกันเป็นลูกโซ่ อย่างนี้เป็นต้น
ตามหลักพุทธธรรมเกี่ยวกับหลักปฏิจจสมุปปบาท อธิบายว่า ไม่มีอะไรหรือสิ่งใดเกิดขึ้นลอย ๆ โดยปราศจากเหตุปัจจัย ไม่มีอะไรหรือสิ่งใดเกิดขึ้นจากอำนาจดลบันดาลของเทวะหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ไม่มีความบังเอิญใด ๆ แต่ทุกสิ่งเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไปตามเหตุปัจจัยทั้งสิ้น หากเราศึกษา

แนวคิดหลักของปฏิจจสมุปปบาท

1. ปรากฏการณ์ทั้งหลายที่เกิดขึ้นเป็นเหตุปัจจัยเนื่องอาศัยกัน จะดับไปเพราะดับเหตุปัจจัย2. ไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้นลอย ๆ หรือเกิดเพราะเหตุใดเหตุหนึ่งเพียงอย่างเดียว3. การศึกษาปฏิจจสมุปปบาท คือการฝึกกระบวนการคิดแบบปัจจัยสัมพันธ์ ทำให้มองรอบคอบ รอบด้าน มีวิสัยทัศน์กว้างไกล4. ผู้เข้าใจปฏิจจสมุปปบาท สามารถประยุกต์ใช้กับการทำงานได้เป็นอย่างดี

ความสำคัญของปฏิจจสมุปปบาท

1. เป็นหลักธรรมที่แสดงถึงกฏธรรมชาติของสรรพสิ่ง ซึ่งมีการไหลไปไม่หยุดนิ่ง มีเกิดในเบื้องต้น แปรปรวนในท่ามกลางและแตกดับในที่สุด (มีเกิด ตั้งอยู่ และดับไป)2. เป็นหลักธรรมที่แสดงถึงกฎธรรมดาของสรรพสิ่ง ซึ่งเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา (กฎไตรลักษณ์)3. เป็นหลักธรรมที่แสดงถึงกฎแห่งสังสารวัฏ คือ วงจรแห่งความทุกข์ที่เกิดขึ้น เพราะอาศัยกิเลส กรรม วิบาก4.เป็นหลักธรรมข้อใหญ่ที่ประมวลเอาความหมายแห่งธรรมทั้งหลายไว้เพราะหากเข้าใจในหลักปฏิจจสมุปปบาทอย่างแจ่มชัดแล้ว ก็จะเข้าใจในหลักพุทธธรรมอื่น ๆ ได้ชัดเจนเช่นเดียวกัน เช่น เรื่องไตรลักษณ์ หลักกรรม และนิพพานได้5. เป็นธรรมที่ว่าด้วยเรื่องชีวิตของมนุษย์ในขณะปัจจุบัน

องค์ประกอบของปฏิจจสมุปปบาท

องค์ประกอบของปฏิจจสมุปปบาทมี 12 ข้อ โดยมีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันตามลำดับดังนี้
อวิชชา --> สังขาร --> วิญญาณ --> นามรูป --> สฬายตนะ --> ผัสสะ --> เวทนา --> ตัณหา --> อุปาทาน --> ภพ--
>ชาต-->ชรามรณะ ส่วน โสกะ (ความเศร้าโศก) ปริเทวะ (ความคร่ำครวญ) ทุกข์ โทมนัส (ความเสียใจ) และปายาส (ความคับแค้นใจ) เป็นส่วนที่เกิดจากอวิชชาเกิดส่งผลให้มีส่วนเหล่านี้ประกอบ
ความหมายขององค์ประกอบ 12 ข้อ
1. อวิชชา (ignorance, lack of knowledge) หมายถึง ความไม่รู้ไม่เห็นตามความเป็นจริง ความไม่รู้เท่าทันตามสภาวะความไม่เข้าใจเหตุผล ภาวะที่ขาดปัญญา
2. สังขาร (volitional activities) หมายถึง ความคิดปรุงแต่ง ความจงใจ ความมุ่งหมาย การตัดสินใจ และการที่จะแสดงเจตนาออกเป็นการกระทำ การปรุงแต่งจิต การปรุงแต่งความคิด เป็นต้น
3. วิญญาณ (consciousness) หมายถึง ความรับรู้ต่ออารมณ์ต่าง ๆ คือ มองเห็น ได้ยิน ดมกลิ่น รู้รส รู้สัมผัส รู้ต่ออารมณ์ที่มีอยู่ในใจ ตลอดจนสภาพพื้นเพของจิตใจในขณะนั้น
4. นามรูป (animated organism) หมายถึง ความมีอยู่ของรูปธรรมและนามธรรม ในความรับรู้ของบุคคลภาวะที่ร่างกายและจิต
ใจทุกส่วนอยู่ในสภาพที่สอดคล้องและปฏิบัติหน้าที่เพื่อตอบสนองในแนวทางของวิญญาณที่เกิดขึ้นนั้น ส่วนต่าง ๆของร่างกายและจิตใจที่เจริญหรือเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพจิต
5. สฬายตนะ (the six sense-bases) หมายถึง ภาวะที่อายตนะที่เกี่ยวข้องปฏิบัติหน้าที่โดยสอดคล้องกับสถานการณ์นั้น ๆ
6. ผัสสะ (contact) หมายถึง การเชื่อมต่อความรู้กับโลกภายนอก การรับรู้อารมณ์ต่าง ๆ หรือการสัมผัสรับรู้อารมณ์ต่าง ๆ
7. เวทนา (feeling) หมายถึง ความรู้สึกสุขสบาย ถูกใจ หรือทุกข์ ไม่สบาย หรือเฉย ๆ (ไม่สุขไม่ทุกข์)
8. ตัณหา (craving) หมายถึง ความอยาก ทะยานอยาก ดิ้นรนแสวงหาสิ่งความอำนวยความสะดวก หลีกหนีสิ่งที่ทำให้เกิดทุกข์
9. อุปาทาน (attachment,clinging) หมายถึง ความยึดมั่นถือมั่นในความรู้สึกชอบหรือไม่ชอบ เก็บความรู้สึกต่าง ๆ ไว้กับตัวเอง
10. ภพ (process of becoming) หมายถึง พฤติกรรมที่แสดงออกเพื่อสนองตัณหาของตน
11. ชาติ (birth) หมายถึง การเกิด
12. ชรามรณะ (decay and death) หมายถึง ความชรา ความเสื่อม การสูญสลาย ความตาย ความพลัดพราก

ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบทั้ง 12 ข้อ
ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบ 12 ข้อ
1. อวิชชา เป็นปัจจัยแก่ สังขาร เพราะไม่รู้ตามความเป็นจริง ไม่เห็นความจริง ไม่รู้ข้อเท็จจริง ไม่เข้าใจชัดเจนหรือไม่ใช้ปัญญาพิจารณา (อวิชชา) จึงคิดปรุงแต่ง (สังขาร) ไปต่าง ๆ เช่น เดา คิดวาดภาพ คิดเอาเอง
2. สังขาร เป็นปัจจัยแก่วิญญาณ เมื่อคิดปรุงแต่งเลือกที่จะเกี่ยวข้องกับสิ่งใด (สังขาร) ก็จะเกิดการรับรู้ (วิญญาณ) ต่อสิ่งนั้นคือ เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น รู้รส รู้สัมผัส รู้คิดต่อเรื่องนั้น ๆ สิ่งนั้น ๆ โดยเฉพาะเจตนาจะชักจูงนำจิตนำวิญญาณให้คิดให้รับรู้ไปในเรื่องที่มันต้องการปรุงแต่งเรื่อยไปไม่รู้จักจบสิ้นและพร้อมกันนั้นมันก็จะปรุงแต่งสภาพพื้นเพของจิต หรือของวิญญาณนั้น ให้กลายเป็นจิตที่ดีงามหรือชั่วร้าย มีคุณธรรมหรือไร้คุณธรรม เป็นต้น

3. วิญญาณ เป็นปัจจัยแก่นามรูป เมื่อมีวิญญาณที่รู้เห็นได้ยิน เป็นต้น ก็ต้องมีรูปธรรมและนามธรรมที่ถูกรู้เห็น (ตารู้เห็นรูป หูได้ยินเสียง (เป็นต้น)
4. นามรูป เป็นปัจจัยแก่สฬายตนะ เมื่อนามรูปตื่นตัวทำงานพร้อมอยู่ในรูปแบบ ลักษณะ หรือทิศทาง อย่างใดอย่างหนึ่งนั้น ต้องอาศัยอายตนะ เป็นทางผ่านหรือสื่อให้รับรู้ หรือเป็นช่องทางดำเนินพฤติกรรม (สฬายตนะ) อายตนะนั้น ๆก็จะถูกปลุกเร้าให้พร้อมในการทำหน้าที่
5. สฬายตนะ เป็นปัจจัยแก่ผัสสะ เมื่ออายตนะต่าง ๆ มีการผัสสะการรับรู้รับอารมณ์ด้านต่าง ๆ เหล่านั้นจึงมีได้ เมื่ออายตนะใดทำหน้าที่ ก็มีผัสสะคือการรับรู้รับอารมณ์โดยอาศัยอายตนะนั้นได้
6. ผัสสะ เป็นปัจจัยแก่เวทนา เมื่อมีการรับรู้อารมณ์แล้ว ก็ต้องมีความรู้สึกที่เป็นเวทนา (ความรู้สึก) อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่นสุขไม่สุข ทุกข์ ไม่ทุกข์ หรือเฉย ๆ เป็นต้น
7. เวทนา เป็นปัจจัยแก่ตัณหา เมื่อรับรู้อารมณ์ใด ๆ เช่น ได้รับความสุขสบาย ชื่นใจ ก็ชอบใจ ติดใจ อยากได้อารมณ์นั้น เกิดเป็นกามตัณหา เป็นต้น
8. ตัณหา เป็นปัจจัยแก่อุปาทาน เมื่อความอยาก (ตัณหา) มากขึ้น ก็กลายเป็นการยึดติด ยึดมั่นในสิ่งนั้น (อุปาทาน)
9. อุปาทาน เป็นปัจจัยแก่ภพ เมื่อมีความยึดติดยึดมั่น (อุปาทาน) มีท่าทีต่อสิ่งของ บุคคล หรือภาวะอันใดอันหนึ่งแล้วบุคคลก็สร้างภพหรือภาวะชีวิตของเขาขึ้น ให้สอดคล้องกับสิ่งที่เขายึดมั่นถือมั่นไว้
10. ภพ เป็นปัจจัยแก่ชาติ เมื่อเกิดมีภพหรือภาวะชีวิตตามสิ่งที่ยึดมั่นแล้ว ก็เกิดมีตัวตนเข้าครอบครองภพหรือภาวะชีวิตนั้นๆ เช่น เป็นเจ้าของภพ เป็นผู้ได้รับผล เป็นผู้กระทำ เป็นผู้แพ้ เป็นผู้ชนะ เป็นต้น
11. ชาติ เป็นปัจจัยแก่ชรามรณะ เมื่อเกิดมีตัวตนเข้าครอบครองภพหรือภาวะชีวิตนั้นแล้วการที่จะได้ประสบกับความเสื่อมและความเจริญในภพนั้นก็ย่อมเกิดขึ้นกับบุคคลเป็นธรรมดา (ชาติ : ชรา : มรณะ = เมื่อมีเกิด ก็มีแก่ และตายในที่สุด)

ตัวอย่างกรณีปลีกย่อยในชีวิตประจำวัน
พระธรรมปิฎก ได้ยกตัวอย่างประกอบ เป็นตัวอย่างที่สามารถทำความเข้าใจกับความสัมพันธ์ขององค์ประกอบปฏิจจสมุปปบาททั้ง 12 ข้อให้เข้าใจง่ายขึ้น และเกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของแต่ละบุคคล เพียงแต่จะอยู่ในสถานการณ์ใดเท่านั้น
ก. กับ ข. เป็นเพื่อนนักเรียนที่รักและสนิทสนมกัน ทุกวันมาโรงเรียน พบกันก็ยิ้มแย้มทักทายกัน วันหนึ่ง ก. เห็น ข. ก็ยิ้มแย้ม เข้าไปทักทายตามปกติ แต่ ข. หน้าบึ้งไม่ยิ้มด้วย ไม่พูดตอบ ก. จึงโกรธไม่พูดกับ ข. บ้าง ในกรณีนี้กระบวนธรรมจะดำเนินไปในรูปต่อไปนี้
1. อวิชชา : เมื่อเห็น ข. หน้าบึ้ง ไม่ยิ้มตอบ ไม่พูดตอบ ก. ไม่รู้ความจริง (อวิชชา) ว่าเหตุผลต้นปลายเป็นอย่างไร และไม่ใช้ปัญญาพิจารณาเพื่อหาข้อเท็จจริงว่า ข. อาจมีเรื่องไม่สบายใจ มีอารมณ์ค้างอะไรมาจากที่อื่น
2. สังขาร : ก. จึงคิดปรุงแต่ง (สังขาร) สร้างภาพในใจไปต่าง ๆ ตามพื้นนิสัย ตามทัศนคติหรือตามกระแสความคิดที่เคยชินของตนว่า ข. จะต้องรู้สึกนึกคิดต่อตนอย่างนั้นอย่างนี้ แล้วเกิดความฟุ้งซ่าน โกรธ มีทิฏฐิมานะ เป็นต้น
3. วิญญาณ : จิตของ ก. ขุ่นมัวไปตามกิเลสที่ฟุ้งขึ้นมาปรุงแต่งเหล่านั้น คอยรับรู้ (วิญญาณ) การกระทำและอากัปกิริยาของข.ในแง่ในความหมายที่จะมาป้อนความรู้สึกนึกคิดที่เป็นอยู่ในเวลานั้นเหมือนอย่างที่พูดกันว่า ยิ่งนึกคิดก็ยิ่งเห็นเป็นอย่างนั้น สีหน้า กิริยาท่าทางต่าง ๆ ของ ข. ดูจะเป็นเรื่องที่กระทบกระทั่ง ก. ไปเสียทั้งนั้น
4. นามรูป : ความรู้สึก ภาพที่คิด ภาวะต่าง ๆ ของจิตใจ สีหน้า กิริยาท่าทาง คือทั้งกายและใจทั้งหมดของ ก. (นามรูป)คล้อยไปด้วยกันในทางที่แสดงออกมาเป็นผลรวมคือ ภาวะอาการของคนโกรธ คนปั้นปึ่ง คนงอน เป็นต้นพร้อมที่จะทำงานร่วมกับวิญญาณนั้น
5. สฬายตนะ : อายตนะต่าง ๆ มี ตา หู เป็นต้น ของ ก. เฉพาะที่เกี่ยวข้องจะต้องใช้รับรู้เรื่องราวในกรณีนี้ ตื่นตัวพร้อมที่จะทำหน้าที่รับความรู้กันเต็มที่
6. ผัสสะ : สัมผัสกับลักษณะอาการแสดงออกต่าง ๆ ของ ข. ที่เด่น น่าสนใจ เกี่ยวข้องกับกรณีนั้น เช่น ความบูดบึ้งความกระด้างท่าทางดูหมิ่น ไม่ให้เกียรติ เป็นต้น
7. เวทนา : ก. ความรู้สึกไม่สบายใจ บีบคั้นใจ เจ็บปวดรวดร้าว หรือเหี่ยวแห้งใจ
8. ตัณหา : เกิดวิภวตัณหา อยากให้ภาพที่บีบคั้น ทำให้ไม่สบายใจนั้น พ้นหายอันตรธานไปเสีย
9. อุปาทาน : เกิดความยึดถือผูกใจต่อพฤติกรรมของ ข. ว่าเป็นสิ่งเกี่ยวข้องโดยเฉพาะกับตน กระทบต่อตน เป็นคู่กรณีกับตนซึ่งจะต้องจัดการกันอย่างใดอย่างหนึ่ง
10. ภพ : พฤติกรรมที่สืบเนื่องต่อไปของ ก. ตกอยู่ใต้อิทธิพลของอุปาทานเกิดเป็นกระบวนพฤติกรรมจำเพาะอย่างใดอย่างหนึ่งที่สนองอุปาทานนั้น คือพฤติกรรมเป็นปฏิปักษ์กับ ข. (กรรมภพ) ภาวะชีวิตทั้งทางกายทางใจที่รองรับกระบวนพฤติกรรมนั้น ก็สอดคล้องกันด้วย คือ เป็นภาวะแห่งความเป็นปฏิปักษ์กับ ข. (อุปปัตติภพ)
11. ชาติ : ก. เข้าสวมรับเอาภาวะชีวิตที่เป็นปฏิปักษ์นั้น โดยมองเห็นความเป็นปฏิปักษ์ระหว่างตนกับ ข. ชัดเจนลงไปแยกเป็นเป็นเรา-เขา มีตัวตนที่จะเข้าไปกระทำและถูกกระทบกระแทกกับ ข.
12. ชรามรณะ : ตัวตนที่เกิดขึ้นในภาวะปฏิปักษ์นั้น จะดำรงอยู่และเติบโตขึ้นได้ต้องอาศัยความหมายต่าง ๆ ที่พ่วงติดมาเช่น ความเก่ง ความสามารถ ความมีเกียรติ ความมีศักดิ์ศรี และความเป็นผู้ชนะ เป็นต้นซึ่งมีภาวะตรงข้ามขัดแย้งอยู่ในตัวคือ ความด้อย ความไร้ค่า ไร้เกียรติ ความแพ้ เป็นต้น
ก.อาจมีลักษณะของความด้อย ความพ่ายแพ้ เกิดเป็นความทุกข์ในรูปแบบต่าง ๆ ตลอดเวลา เช่น เกิดความเครียดเกิดความวิตกกังวล เป็นต้น เกิดสะสมมากขึ้น ๆ ก็จะมีผลกระทบต่อทั้งชีวิตของตนเองและผู้อื่นมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมครั้งต่อไป และการดำเนินชีวิตทั้งหมดของเขาดังในกรณีของ ก. อาจไม่สบายใจ ขุ่นมั่วทั้งวัน เรียนหนังสือและใช้ความคิดในเวลานั้นไม่ได้ผลดี พลอยแสดงกิริยาวาจาที่ไม่ดีไม่สุภาพต่อผู้อื่น เกิดความขัดแย้งกับผู้อื่นมากขึ้น (เป็นความเสื่อม) เป็นต้น
ถ้า ก. ปฏิบัติถูกต้องตั้งแต่ต้น วงจรปัญหาก็ไม่เกิดขึ้น คือ ก. เห็น ข. ไม่ยิ้มตอบ ก็ใช้ปัญญาคิดว่า ข. อาจมีเรื่องไม่สบายใจ เข้าไปให้ความช่วยเหลือ ช่วยแก้ปัญหา จนสุดท้ายทั้ง ก. และ ข. ก็เกิดความสบายใจ และเป็นเพื่อนรักกันเช่นเดิม เป็นต้น
วงจรปฏิจจสมุปปบาท ที่ก่อให้เกิดทุกข์ ไม่สามารถหลุดพ้นเป็นอิสระได้ เรียกว่า ฝ่ายเกิดทุกข์ซึ่งเป็นวงจรที่จะต้องหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดขึ้นในตัวบุคคล ส่วนวงจรที่เป็นฝ่ายดับทุกข์ เป็นวงจรที่บุคคลพ้นทุกข์เป็นอิสระและหลุดพ้นในที่สุด ดังกรณีของ ก. ที่เข้าใจผิด เป็นวงจรที่ก่อให้เกิดทุกข์ และถ้ามีความเข้าใจถูกต้อง เป็นวงจรของความดับทุกข์ วงจรทั้งสองมีดังนี้

ฝ่ายเกิดทุกข์

อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร -->วิญญาณ--> นามรูป--> สฬายตนะ--> ผัสสะ--> เวทนา--> ตัณหา--> อุปาทาน-->ภพ-->ชาติ ((ชรามรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และปายาส) = กองแห่งทุกข์ทั้งมวลเกิดด้วยอาการอย่างนี้

ฝ่ายดับทุกข์
เพราะดับอวิชชาจึงดับสังขาร -->วิญญาณ--> นามรูป--> สฬายตนะ--> ผัสสะ--> เวทนา--> ตัณหา--> อุปาทาน-->ภพ-->ชาติ ((ชรามรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และปายาส) = กองทุกข์ทั้งมวลย่อมดับด้วยอาการอย่างนี้ปฏิจจสมุปปบาทฝ่ายดับทุกข์ แบบหลักรวม : เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ = ทุกข์ดับ

ก.อาจมีลักษณะของความด้อย ความพ่ายแพ้ เกิดเป็นความทุกข์ในรูปแบบต่าง ๆ ตลอดเวลา เช่น เกิดความเครียดเกิดความวิตกกังวล เป็นต้น เกิดสะสมมากขึ้น ๆ ก็จะมีผลกระทบต่อทั้งชีวิตของตนเองและผู้อื่นมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมครั้งต่อไป และการดำเนินชีวิตทั้งหมดของเขาดังในกรณีของ ก. อาจไม่สบายใจ ขุ่นมั่วทั้งวัน เรียนหนังสือและใช้ความคิดในเวลานั้นไม่ได้ผลดี พลอยแสดงกิริยาวาจาที่ไม่ดีไม่สุภาพต่อผู้อื่น เกิดความขัดแย้งกับผู้อื่นมากขึ้น (เป็นความเสื่อม) เป็นต้น

ถ้า ก. ปฏิบัติถูกต้องตั้งแต่ต้น วงจรปัญหาก็ไม่เกิดขึ้น คือ ก. เห็น ข. ไม่ยิ้มตอบ ก็ใช้ปัญญาคิดว่า ข. อาจมีเรื่องไม่สบายใจ เข้าไปให้ความช่วยเหลือ ช่วยแก้ปัญหา จนสุดท้ายทั้ง ก. และ ข. ก็เกิดความสบายใจ และเป็นเพื่อนรักกันเช่นเดิม เป็นต้น
วงจรปฏิจจสมุปปบาท ที่ก่อให้เกิดทุกข์ ไม่สามารถหลุดพ้นเป็นอิสระได้ เรียกว่า ฝ่ายเกิดทุกข์ซึ่งเป็นวงจรที่จะต้องหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดขึ้นในตัวบุคคล ส่วนวงจรที่เป็นฝ่ายดับทุกข์ เป็นวงจรที่บุคคลพ้นทุกข์เป็นอิสระและหลุดพ้นในที่สุด ดังกรณีของ ก. ที่เข้าใจผิด เป็นวงจรที่ก่อให้เกิดทุกข์ และถ้ามีความเข้าใจถูกต้อง เป็นวงจรของความดับทุกข์ วงจรทั้งสองมีดังนี้

ฝ่ายเกิดทุกข์

อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร -->วิญญาณ--> นามรูป--> สฬายตนะ--> ผัสสะ--> เวทนา--> ตัณหา--> อุปาทาน-->ภพ-->ชาติ ((ชรามรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และปายาส) = กองแห่งทุกข์ทั้งมวลเกิดด้วยอาการอย่างนี้

ฝ่ายดับทุกข์
เพราะดับอวิชชาจึงดับสังขาร -->วิญญาณ--> นามรูป--> สฬายตนะ--> ผัสสะ--> เวทนา--> ตัณหา--> อุปาทาน-->ภพ-->ชาติ ((ชรามรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และปายาส) = กองทุกข์ทั้งมวลย่อมดับด้วยอาการอย่างนี้ปฏิจจสมุปปบาทฝ่ายดับทุกข์ แบบหลักรวม : เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ = ทุกข์ดับ

นิวรณ์ 5 (hindrances)
นิวรณ์ แปลว่า เครื่องกีดกั้น เครื่องขัดขวาง หมายความว่า เป็นสิ่งที่กีดกั้นการทำงานของจิตสิ่งที่ขัดขวางความดีงามของจิต สิ่งที่ทอนกำลังปัญญา หรือแสดงความหมายให้เป็นวิชาการยิ่งขึ้นว่า สิ่งที่กั้นจิตไม่ให้ก้าวหน้าในกุศลธรรม ธรรมฝ่ายชั่วที่กั้นจิตไม่ให้บรรลุคุณความดี หรืออกุศลธรรมที่ทำให้จิตเศร้าหมองและทำปัญญาให้อ่อนกำลัง ประกอบด้วย
1. กามฉันทะ คือ ความพอใจในกาม ความอยากได้อยากมี หมายถึง ความอยากได้ในกามคุณทั้ง 5 คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส
และสิ่งที่น่าปรารถนา น่าพอใจ เป็นกิเลสพวกโลภะ จิตที่ถูกล่อด้วยอารมณ์ต่าง ๆ คิดอยากได้โน่นได้นี่ ติดใจในสิ่งต่าง ๆ
2. พยาบาท คือ ความคิดร้าย ความขัดเคืองแค้นใจ ได้แก่ ความขัดใจ แค้นเคือง เกลียดชัง ความผูกใจเจ็บ การมองในแง่ร้าย
การคิดร้าย มองเห็นคนอื่นเป็นศัตรู ตลอดจนความโกรธ ความหงุดหงิด ฉุนเฉียว ความรู้สึกขัดใจ ไม่พอใจต่าง ๆ
3. ถีนมิทธะ คือ ความหดหู่และเซื่องซึม หรือเซ็งและซึม แยกเป็น “ถีนะ” แปลว่า ความหดหู่ ห่อเหี่ยว ถดถอย ท้อแท้ ความซบเซา
ความเหงาหงอย ความละเหี่ย ที่เป็นอาการของจิต กับ “มิทธะ” แปลว่า ความเซื่องซึม เฉื่อยเฉา ง่วงเหงาหาวนอน ความอืดอาด ความ
มึนมัว ความตื้อตัน อาการซึม ๆ ที่เป็นไปทางกาย จิตที่ถูกอาการทางกายและทางใจอย่างนี้ครอบงำ ย่อมไม่เข้มแข็ง อ่อนไหวได้ง่าย
4. อุทธัจจกุกกุจจะ คือ ความฟุ้งซ่าน และเดือดร้อนใจ แยกเป็น “อุทธัจจะ” แปลว่า ความที่จิตฟุ้งซ่าน ไม่สงบ จิตงุ่นง่าน กับ
“กุกกุจจะ” แปลว่า ความวุ่นวายใจ รำคาญใจ ระแวง ความเดือดร้อนใจ ยุ่งยากใจ กลุ้มใจ กังวลใจ
5. วิจิกิจฉา คือ ความลังเลสงสัย ได้ ความเคลือบแคลง สงสัย ไม่แน่ใจ ในสิ่งต่าง ๆ

อุปาทาน 4 (attachment)

อุปาทาน หมายถึง ความยึดมั่นถือมั่น, ความยึดมั่นถือมั่นด้วยอำนาจกิเลส, ความยึดมั่นถือมั่นอันเนื่องมาแต่ตัณหา, ความผูกพันเอาตัวตนเป็นที่ตั้ง ประกอบด้วย
1. กามุปาทาน คือ ความยึดมั่นถือมั่นในกาม คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และสิ่งที่น่ารักใคร่น่าพอใจ
2. ทิฏฐุมาทาน คือ ความยึดมั่นถือมั่นในทิฏฐิหรือทฤษฎี หมายถึงมีการยึดมั่นในความเห็นของตน ยึดมั่นในลัทธิหรือหลักคำสอนต่างๆ
3. สีลัพพตุปาทาน คือ ความยึดมั่นถือมั่นในศีลและพรต คือ หลักความประพฤติ ข้อปฏิบัติ แบบแผน ระเบียบ วิธีขนบธรรมเนียมประเพณี ลัทธิพิธีต่าง ๆ ถือว่าจะต้องเป็นอย่างนั้น ๆ โดยสักว่ากระทำสืบ ๆ กันมา หรือ ปฏิบัติตาม ๆกันไปอย่างงมงาย หรือโดยนิยมว่าขลัง ว่าศักดิ์สิทธิ์ มิได้เป็นไปด้วยความรู้ความเข้าใจตามหลักความสัมพันธ์แห่งเหตุและผล
4. อัตตวาทุปาทาน คือ ความยึดมั่นในวาทะว่าตัวตน คือ ความถือหรือสำคัญหมายอยู่ในภายในว่า มีตัวตน ที่จะได้ จะเป็นจะมีจะสูญสลาย ถูกบีบคั้นทำลายหรือเป็นเจ้าของ เป็นนายบังคับบัญชาสิ่งต่าง ๆ ได้ไม่มองเห็นสภาวะของสิ่งทั้งปวง อันรวมทั้งตัวตนว่าเป็นแต่เพียงสิ่งที่ประชุมประกอบกันเข้า เป็นไปตามเหตุปัจจัยทั้งหลายที่มาสัมพันธ์กันล้วน ๆ (ยึดมั่นถือมั่นในตัวตน)